Address
169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131
Contact
ค่าเทอม
website : http://med.buu.ac.th
100,000 บาท/เทอม
038386554
Email : med@buu.ac.th
ทุนการศึกษา
1.ทุนคณะ ทุนละ 20,000 บาท ปีละ 5 ทุน
2.ทุนเอกชน มูลนิธิ ทุนแพทย์เพื่อปวงประชา
ทุนละ 60,000 บาท จนจบการศึกษา ปีละ 2-3 ทุน
3.ทุนเอกชน มูลนิธิ ชิน โสภณพนิชย์ ทุนละ 60,000 บาท ต่อเนื่องจนจบการศึกษา ปีละ 5 ทุน
4.ทุนเอกชน มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทุนละ 60,000 บาท ต่อเนื่องจนจบการศึกษา
ปีละ 1-2 ทุน
คณะแพทย์ศาสตร์แห่งความเป็นเลิศด้านเวชศาสตร์
การเดินทางและท่องเที่ยว
" ใกล้ทะเล ใกล้หาด คณะพร้อมซัพพอร์ตทุกคน "
จุดเด่นในคณะ
มีหอพักนิสิตแพทย์ให้สำหรับนิสิตแพทย์ตั้งแต่ชั้นปี 2 เป็นต้นไป โดยมีส่วนกลางให้นิสิตสามารถมาอ่านหนังสือได้ 24 ชั่วโมงใต้หอพัก มี relaxing room สำหรับพักผ่อน มีห้องยิมสำหรับออกกำลังกาย พร้อมอุปกรณ์กีฬาให้ยืม ใกล้สถานที่ท่องเที่ยว เช่น หาดบางแสน สามารถเดินทางไปได้ด้วยการเดิน หอพักมีความสะดวกสบาย เพราะอยู่ข้างตึกคณะ โดยตึกคณะมีห้องสมุดให้สามารถเข้าไปใช้งานได้ พร้อมห้องส่วนตัวสำหรับประชุมและอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถเข้าไปศึกษางานได้ในชั้นปี 3
ประวัติสถาบัน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นแห่งแรกในภาคตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2537 จากแนวความคิดในการขยายงานศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ที่มีขนาด 500 เตียง เพื่อเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสำหรับรักษาและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์ นิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และบุคลากรด้านสาธารณสุข
ข้อมูลการสอบเข้า
มีเปิดให้เข้าสอบ 3 รอบ (อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2565)
รอบ 1 : Portfolio GPAX 5 เทอม ≥ 3.50, IELTS ≥ 6.0 (หรือสอบภาษาอังกฤษอื่นๆ),มีผลงานเข้าอบรมสอวน.
รอบ 2 วิชาชีวะ เคมี ฟิสิกส์ คณิต คอม เรียกสัมภาษณ์ 24 คน รับ 6 คน
รอบ 2: ใช้คะแนน GAT 30%, คะแนน PAT1 20%, คะแนน PAT2 50% หลังจากผ่านการคัดเลือกแล้วจะมีสัมภาษณ์ รับสมัครเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคอย่างน้อย 5 ปี ได้แก่ จังหวัด นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ลพบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว สระบุรี
รอบ 3: ใช้คะแนนตามเกณฑ์ของ กสพท. *ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากคณะกำลังพยายามยามขยายจำนวนเพิ่ม
สรุปชีวิตการเรียน
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1: เรียนเป็นรูปแบบทวิภาคปกติ มีการเรียนเกี่ยวกับวิชาทั่วไปเป็นหลัก เช่น เคมี ชีวะ ชีวเคมี ฟิสิกส์ ค่อนข้างเหมือน ม.ปลาย แล้วมีความยากเพิ่มเข้ามานิดหน่อย ปี 2: เริ่มมีการเรียนเป็น block system มีสอบค่อนข้างถี่(เกือบทุกอาทิตย์) หรือ quiz ทุกครั้งหลังเรียนจบบท หลังจากนั้นจะมีการผ่า gross ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ anatomy เยอะขึ้นมาก โดยอาจารย์ที่สอนส่วนใหญ่เป็นคณะสหเวชศาสตร์ ปี 3: เรียนเกี่ยวกับ Abnormal เป็น block system มีสอบ OSCE สอนโดยอาจารย์แพทย์ โดยเน้น case-base learning ฝึก approach คนไข้มากขึ้น แล้วก็จะมีเข้า OPD ในรพ.ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการติวสอบ nl ตามหัวข้อที่นิสิตสนใจ
Clinic (ปี 4-6)
วอร์ด: Cpird จะขึ้นวอร์ดที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ TCAS จะขึ้นวอร์ดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ปี 4(พระปิ่นเกล้า): ต้องมีระเบียบมากขึ้น มีการแบ่งเรียนวอร์ดตอนเช้า เรียน lecture ตอนบ่าย ได้เรียนรู้วิธีการ approach อาการต่าง ๆ ตามระบบมากขึ้น ปี 4(เจ้าพระยาอภัยภูเบศ): เรียนแบบ active learning เยอะมาก ๆ มีเคสให้ฝึกเยอะมาก ได้ฝึกประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เจอโรคใหม่ ๆ ที่อ.ไม่ได้สอนใน lecture ปี 5(พระปิ่นเกล้า): เรียนทั้ง lectureและขึ้นวอร์ดเหมือนปี 4 แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นวิชา minor ส่วนใหญ่จะมีสอบบ่อย เป็นช่วงที่ค้นหาตัวเองพร้อมกับเตรียมตัวเป็น extern และจะมีเวลาว่างให้ไป electiveด้วย ปี 6(เจ้าพระยาอภัยภูเบศ): ได้เรียนรู้วิธีการดูแลคนไข้มากขึ้นจริง ๆ ได้ลองคิดวิธี manage case กับรุ่นพี่ ได้ฝึกอยู่เวรเต็มวัน