top of page
13.png

Address

1873 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Contact

ค่าเทอม

34,000 บาทต่อเทอม

0-2256-4454

  • Facebook

ทุนการศึกษา

ทุนประเภท ก ทุนค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายรายเดือน

ทุนประเภท ข (1) ทุนค่าเล่าเรียน

ทุนประเภท ข (2) ทุนช่วยเหลือเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือน (ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2556 เดือนละไม่เกิน 5,000 บาท หรือปีละไม่เกิน 60,000 บาท)

ทุนประเภท ค ทุนค่าใช้จ่ายบางส่วน ไม่เกิน 10,000 บาท / ปีการศึกษา

 

เงื่อนไขในการรับทุน

เป็นผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี

เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีความประพฤติดี

โดยมีผู้รับรองความประพฤติ นิสิตต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด

สามารถติดต่อยื่นเรื่องขอรับทุนอุดหนุนการศึกษาได้ที่ฝ่ายกิจการนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เปิดรับและยื่นใบสมัคร

ชั้นปีที่ 2 – 6 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ชั้นปีที่ 1 เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ของทุกปี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัมภาษณ์นิสิตผู้ขอรับทุน

ชั้นปีที่ 2 – 6 เดือนมีนาคมของทุกปี

ชั้นปีที่ 1 เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี

 

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุน: หลังจากวันสัมภาษณ์ประมาณ

1 เดือน

 

*หมายเหตุ : เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

วิสัยทัศน์ : คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและสร้างมาตรฐานระดับนานาชาติ

" เป็นคณะแพทย์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทุกๆด้าน "

จุดเด่นในคณะ

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ทันสมัย ปรับปรุงให้ตอบโจทย์ผู้เรียนอยู่เสมอ เช่น การเรียนฟิสิกส์-เคมีแค่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ ไม่มีการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และมี Student Engagement ที่นำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ป้อนกลับจากผู้เรียนมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตรมากมายครบทุกด้าน ตั้งแต่วิชาการ ดนตรี กีฬา

ทำอาหาร แสดงละคร การพูด แสงเสียง ฯลฯ เรียกได้ว่ารองรับทุกความสามารถทุกความสนใจสำหรับชาว MDCU

ทุกคน อีกสิ่งคือทำเลด้านสถานที่ ที่ทั้งคณะและโรงพยาบาลเองมีสถานที่อำนวยความสะดวกและทรัพยากรทันสมัยหลากหลายให้ได้ฝึกและเรียนรู้ รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย และยังสามารถพบปะเพื่อน ๆ นอกคณะได้สบาย ๆ อีกด้วย

ประวัติสถาบัน

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น (ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส) จึงได้ติดต่อประสานงานจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการ กองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม “คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” โดยในแต่ละภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย

ข้อมูลการสอบเข้า

  • TCAS รอบที่ 1 (24 คน)

1. โครงการรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ : ใช้คะแนนสอบ BMAT และภาษาอังกฤษ

ร่วมกับการสอบสัมภาษณ์

  • TCAS รอบที่ 2

2. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (80 คน) : สำหรับนักเรียนที่มีภูมิลำเนาและเคยศึกษาในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม และสระแก้ว โดยเรียนชั้นปีที่ 3 ภาคปลายเป็นต้นไปที่โรงพยาบาลชลบุรี หรือโรงพยาบาลพระปกเกล้า และมีเงื่อนไขในการใช้ทุนตามภูมิลำเนา

3. โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา) (3 คน)

  • TCAS รอบที่ 3

4. โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (176 คน) : ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ (A-Level) และวิชาเฉพาะกสพท.

5. โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกองทัพอากาศ (30 คน) : รับร่วมกับกสพท. โดยเรียนชั้นปีที่ 3 ภาคปลายเป็นต้นไปที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (ไม่ได้เป็นทหาร จบแล้วใช้ทุนเหมือนโครงการกสพท.)

 

สรุปชีวิตการเรียน

Pre-clinic (ปี 1-3)

การเรียนในชั้น Pre-clinic เป็นการเรียนที่จะเน้นไปที่ความรู้เชิงทฤษฎีเป็นหลัก เรียนรู้จากทั้งในและนอกห้องเรียน โดยยังไม่ค่อยได้มีโอกาสนำความรู้ไปใช้กับคนไข้จริง ๆ แต่ก็มีเคสมากมายในแต่ละบล็อคที่ทำให้เราได้ฝึกและประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนที่ค่อนข้างมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งภายในและนอกคณะมากมาย ทั้งใน MDCU เอง หรือจะเป็น จุฬาฯใหญ่ หรือกับองค์กรภายนอกอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความสนใจและการจัดสรรเวลาของแต่ละคน

 

Clinic (ปี 4-6)

ในส่วนของชั้น Clinic ทุกคนก็น่าจะรู้กันอยุ่แล้วว่าชั้น Clinic เป็นช่วงที่นิสิตแพทย์อย่างเราได้ขึ้นวอร์ด ได้นำความรู้ที่สั่งสมมาตลอดช่วงชั้น pre-clinic มาประยุกต์ใช้กับคนไข้จริง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเติบโตอีกขั้นของชีวิตและรู้สึกเข้าใกล้กับคำว่าแพทย์มากขึ้น ชั้น Clinic นี้เป็นช่วงที่เราจะได้ไปวนวอร์ดต่าง ๆ เช่น สูติ ศัลย์ ฯลฯ และยังได้ไปวนนอกคณะอีกด้วย

  • RSS
  • Facebook
  • Instagram
  • Youtube
bottom of page