Address
เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
Contact
074-451546
Email : mailto:info@md.kku.ac.th
ค่าเทอม
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ภาคการศึกษาละ 28,000 บาท
ทุนการศึกษา
คุณสมบัติ/ข้อปฏิบัติ
1. เป็นผู้มีปัญหาทางเศรษฐกิจ/ขาดแคลนทุนทรัพย์
2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์กู้เงิน กรอ. กยศ. ต้องใช้สิทธิ์ในการกู้ยืมเงินร่วมกับขอรับทุนจากคณะแพทยศาสตร์ โดยคณะฯ จะพิจารณาวงเงินกู้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหรือพิจารณายกเลิกการกู้เงินในภายหลัง หากไม่ใช้สิทธิ์ยื่นกู้ คณะฯ จะไม่พิจารณาจัดสรรทุน (ยกเว้นในรายที่คณะฯ แจ้งให้งดกู้ยืมฯ ไปแล้ว)
3. บุตรข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ แนบหนังสือรับรองรายได้ เป็นหลักฐาน
4. ผู้ประกอบธุรกิจที่มีรายได้เกิน 50,000 บาท/เดือน แนบหลักฐานการชำระภาษี
5. ผู้ขอรับทุนการศึกษา ที่มีทุนการศึกษาอื่นๆ อยู่แล้วบางส่วน ต้องแจ้งรายละเอียดในใบสมัครด้วย
6. นักศึกษาจะต้องไม่มีและไม่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในระหว่างการศึกษา
7. นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ต้องพักอาศัยที่บ้านส่วนตัวหรือหอพักมหาวิทยาลัย/หอพักที่คณะแพทยศาสตร์ จัดให้เท่านั้น
8. นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ไม่ควรแสดงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐานะ เช่น มีรถยนต์ใช้ส่วนตัว มีอุปกรณ์เครื่องใช้/เครื่องประดับ ราคาแพง เป็นต้น
9. ผู้ได้รับทุนการศึกษาที่ให้ข้อมูลเป็นเท็จ จะไม่ได้รับการจัดสรรทุนการศึกษา/ระงับการรับทุนการศึกษาทันทีที่คณะฯ ตรวจสอบได้
10. การช่วยเหลือทุนการศึกษา เป็นนโยบายของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เป็นความช่วยเหลือร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง-คณะแพทยศาสตร์-นักศึกษา จึงขอให้นักศึกษาให้ข้อมูลที่เป็นความจริง เพื่อความสะดวกในการดูแลนักศึกษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
11. ผู้สมัครขอรับทุน ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ด้วยตัวเองหรือ e-mail :sangdao.tin@hotmail.com
12. สัมภาษณ์ผู้ปกครองและนักศึกษา โดยจะนัดเวลาสัมภาษณ์หลังจากได้รับใบสมัครของนักศึกษาเรียบร้อยแล้ว
13. นักศึกษาขอรับทราบผลการพิจารณาจัดสรรทุน ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ในวัน เวลา ราชการ ณ สำนักงานกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ โดย นัดเวลาล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 074 451546
-คติพจน์: ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
(Our Soul is for the Benefit of Mankind)
-ค่านิยม: MEDPSU หมายถึง
M - Mankind (ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์)
E - Excellence (มาตรฐานสูงสุดเพื่อทุกชีวิต)
D - Dedication (อุทิศตนเพื่องาน)
P - Professionalism (เชี่ยวชาญ มีจรรยาบรรณ)
S - Social responsibility (สรรค์สร้างเพื่อสังคม)
U - Unity (ผสานผสมเป็นหนึ่งเดียว)
-วิสัยทัศน์: คณะแพทยศาสตร์เพื่อเพื่อนมนุษย์ (Dedicated & Excellent Medical School for Mankind)
" คณะแพทยศาสตร์ เพื่อเพื่อนมนุษย์ "
จุดเด่นในคณะ
การเรียน - พรีคลินิก คณะแพทย์มอ มีการเรียนแบบ active learning ที่มีการแบ่งจำนวนนศพ. กับอาจารย์ให้เหมาะสม เช่น PBL, มีการสอนทักษะทางคลินิกเบื้องต้นให้ในระหว่างบล็อกเลย เช่น สอนตรวจร่างกายทางระบบ CVS ในขณะที่เรียนบล็อกนั้น ๆ นอกจากนี้ในทุก ๆ บล็อกจะมีการให้ฟีดแบค และเปิดโอกาสให้นศพ. ได้ร่วมตัดสินใจในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงการเรียนการสอน และมีการให้ผู้บริหารมาพูดคุยกับนศพ. ตัวแทนของรุ่น และในบางรอบจะเป็นการมาพบปะพูดคุยทั้งชั้นปี สุดท้ายคือกิจกรรม Binla talk ที่จะให้ นศพ. ทุกคนโหวตประเด็นที่อยากให้ทางคณะ อาจารย์ และผู้บริหารมาร่วม discuss กับนศพ. เพื่อหาทางออกร่วมกัน
การเรียน - คลินิก ชั้นคลินิก รอบทั่วไปจะเรียนที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ขนาด 1,000 เตียง มีระบบการเรียนการสอนแบบบล็อก ประกอบไปด้วย lecture ทั้งภาคทฤษฎีและ clinical correlation, round ward, bedside teaching, team-based learning และกิจกรรมวิชาการอื่น ๆ เช่น Evidence-based medicine, journal club, case conference, งานประชุมวิชาการประจำปี เป็นต้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ยังเป็น Super tertiary care ทำให้มีเคสผู้ป่วยหายากค่อนข้างเยอะ และหลากหลายจากทั่วทั้งภาคใต้ นศพ. ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัย วางแผนการรักษารวมไปถึงการให้คำแนะนำผู้ป่วย ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์ และพี่แพทย์ใช้ทุน พี่แพทย์ประจำบ้านอย่างอบอุ่น ระบบในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น กิจกรรม - มอ คณะแพทยศาสตร์ มอ. มีการสนับสนุนการทำกิจกรรมที่หลากหลายให้แก่นศพ. ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ เช่น community medicine, health promotion โดยนศพ. จะได้ทำกิจกรรมและโครงการ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้คนในชุมชน กิจกรรม sparkling idea และกิจกรรมวิชาการคณะ ทุกวันพุธ โดยจะมีการบรรยายความรู้หรือ workshop เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่นศพ. สนใจ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมปั้นดินเผา กิจกรรมการเลือกใช้ skin care กิจกรรมการทำ กิจกรรมบรรยายความรู้การเรียนต่อเฉพาะทาง เป็นต้น นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ มอ. ยังมี MOU exchange program ซึ่งเปิดโอกาสให้นศพ. ทั้งชั้นพรีคลินิกและชั้นคลินิกได้ไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีพันธมิตรกว่า 30 โรงพยาบาลจากหลากหลายประเทศทั่วโลก เห็นได้ว่า นศพ.จะได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งด้านของวิชาการและนอกเหนือจากด้านวิชาการ มีชมรมมากกว่า 28 ชมรม และมีชมรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ทุกปี
Facilities ห้องสมุดคณะแพทย์, ฟิตเนสแบบ cardio, weight training, exercise class, สนามกีฬา, สนามแบดมินตัน, สนามฟุตบอล, สนามบาสเกตบอล และล่าสุด หอพักคณะแพทย์แห่งใหม่ สร้างเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 67 ที่ผ่านมา มี 2 ตึก 600 unit พร้อม facilities ภายในอาคาร เช่น ห้องประชุม ห้องอ่านหนังสือ ห้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญคือทุกห้องเป็นห้องแอร์ บรรยากาศพื้นที่การเรียนรู้ หาดใหญ่อากาศดี ไม่ร้อน ที่สำคัญคือฝุ่นน้อยมากกกกก 1 ปี AQI ขึ้นมา 3 วัน สภาพอากาศดี ใกล้ชุมชนแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคม อาหารอร่อยเยอะมาก ร้านอาหาร Local อร่อยเกือบทุกร้าน มหาวิทยาลัยอยู่ใจกลางเมือง การเดินทางสะดวกสบาย มีศูนย์การค้ามากมายภายในรัศมี 5 กิโลเมตร เช่น เซ็นทรัล โลตัส บิ๊กซี Hatyai Village ซึ่งเป็นแหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหารและกิจกรรม workshop ต่าง ๆ มากมาย เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองแห่งความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน ผู้คนและวัฒนธรรมต่าง ๆ สามารถเดินทางไปมาเลเซียได้เหมือนนั่งรถไปอีกจังหวัด
ประวัติสถาบัน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในภาคใต้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คณะได้รับการสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมีการประกาศพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514 การก่อสร้างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2515 โดยเริ่มเปิดใช้บริการในอาคารชั่วคราวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2520 และให้บริการแก่ประชาชนเต็มรูปแบบในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ในปี พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารสมเด็จพระบรมราชชนก และในปี พ.ศ. 2535 ได้เปิดใช้อาคารถาวร "อาคาร 100 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก" เพื่อรองรับการเรียนการสอนและการให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ข้อมูลการสอบเข้า
แบ่งตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งหมด 4 แผนการศึกษา ดังนี้:
1. แผนการศึกษาพหุศักยภาพ (MP)
1.1 สอบตรง 14 จังหวัดภาคใต้ (50 คน) - TCAS 2
1.2 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (40 คน) - TCAS 3
1.3 โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีสมรรถภาพด้านภาษาอังกฤษและดิจิทัล (16 คน) - TCAS 1
2. แผนการศึกษาแพทย์เพื่อชาวชนบท (CPIRD)
2.1 แผนการศึกษาแพทย์เพื่อชาวชนบท รพ.ยะลา (20 คน) - TCAS 1
2.2 แผนการศึกษาแพทย์เพื่อชาวชนบท รพ.หาดใหญ่ (32 คน) - TCAS 1
-จังหวัดสงขลา (20 คน) -จังหวัดสตูล (6 คน) -จังหวัดพัทลุง (6 คน)
2.3 ปริญญาตรี (Strengthening Track) (8 คน)
3. แผนการศึกษาปฏิรูประบบสุขภาพ (HSR) (16 คน) - TCAS 1
-จังหวัดพัทลุง (8 คน) -จังหวัดตรัง (4 คน) -จังหวัดกระบี่ (2 คน) -จังหวัดพังงา (2 คน)
4. แผนการศึกษาส่งเสริมการวิจัย (RD) (14 คน) - TCAS 1
สรุปชีวิตการเรียน
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1 -ชีวิตในศตวรรษที่21+ศาสตร์พระราชา+Digital (มิถุนายน-ต้นกันยายน) -สถิติทางการแพทย์ (ต้นกันยายน-ต้นตุลาคม) -ฟิสิกส์พื้นฐาน+แแกกำลังกาย (กลางตุลาคม-ปลายตุลาคม) -จุดเน้นของแต่ละแผน: Digital tech/Rural immersion/Health sevice immersion/Research (พฤศจิกายน) -ชีวเคมี และเซลล์พื้นฐาน+ออกกำลังกาย (ปลายธันวาคม-ปลายมกราคม) -มนุษยพันธุศาสตร์พื้นฐาน (กุมภาพันธ์) -มะเร็ง และเชื้อโรค+พยาธิ (มีนาคม)
ปี 2 -เภสัชวิยาพื้นฐาน (ปลายพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน) -ระบบต่อมไรท่อ และระบบภูมิคุ้มกัน (ต้นมิถุนายน-ปลายกรกฎาคม) -ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด (กลางสิงหาคม-ปลายตุลาคม) -ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์/ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (กลางพฤศจิกายน-ต้นกุมภาพันธ์) -เวชศาสตร์ชุมชน 1 (ปลายกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม) -เวชศาสตร์ชุมชน 2 (กลางมีนาคม-ปลายมีนาคม) -เวชศาสตร์ชุมชน 3 (ต้นเมษายน-ต้นพฤษภาคม) -วิชาเลือก+ออกกำลังกาย (ต้นพฤษภาคม-ปลายพฤษภาคม)
ปี 3 -ระบบประสาท1(กลางมิถุนายน-กรกฎาคม) -ระบบประสาท2 และระบบกล้ามเนื้อ(ปลายกรกฎา-ต้นกันยายน) -ระบบเลือด (ปลายกันยายน-ปลายตุลาคม) -ระบบผิวหนัง (ปลายตุลาคม-ต้นพฤศจิกายน) -วงจรชีวิตมนุษย์ (กลางพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม) -ปูพื้นฐานเตรียมตัวขึ้นชั้นคลินิก (กลางธันวาคม-กลางมกราคม)
Clinic (ปี 4-6)
ในชั้นคลินิกจะได้เริ่มทำงานบนวอร์ดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้เริ่มทำการซักประวัติตรวจร่างกายด้วยตัวเอง โดยในแต่ละวิชาก็จะมีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่รายวิชาตั้งแต่ออก OPD เข้าห้องผ่าตัด (OR) ออกชุมชน หรือการเรียนแบบบูรณาการทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมและป้วงกันสุขภาพ รวมถึงมีการเรียนการแพทย์เชิงประจักษ์ (Evidence based medicine) อีกด้วย เพื่อให้นักศึกษารู้ถึงข้อมูลที่ช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น โดยใช้หลักฐานวิจัยคุณภาพสูงร่วมกับความเชี่ยวชาญของแพทย์และความต้องการของผู้ป่วย ลดความเสี่ยงจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และพัฒนาการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และในตอนเป็นแพทย์ ปี 6 (Extern) เราจะได้ใกล้เคียงกับการเป็นหมอมากที่สุด ตั้งแต่รับผู้ป่วยจนสั่งการรักษา ทั้งในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และโรงพยาบาลด้านนอกด้วย