top of page
24.png

Address

906 ถ.กำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210

Contact

02 576 6600 ต่อ 4451, 4159 , 4293, 4514 , 4595

  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
  • Facebook

ค่าเทอม

ภาคการศึกษาละ 50,000 บาท

(ปีการศึกษาละ 100,000 บาท) ยกเว้นปีที่ 4 เพิ่มค่าเล่าเรียนระดับปริญญาโทตามสาขาที่สนใจ

ทุนการศึกษา

นักศึกษาสามารถยื่นกู้ กยศ. กองทุนเพื่อการศึกษาได้

คติพจน์/ ปรัชญา : เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต/Be Excellent for Lives

ค่านิยม วพศส. : ALTRUISM

A–Achievement oriented & agility

L–Learning for excellence

T–Technology & innovation-driven

R–Respect for people & collegiality

U–Unity

I–Interdisciplinary & integration

S–Social responsibility & sustainability

M–Morality, ethics and professionalism

สัยทัศน์ : “ผู้ให้ ผู้พัฒนา ผู้รักษาแห่งอนาคต”

“The Giver, The Inventor and The Doctor of the Future”

" นักศึกษาที่จบออกไปจะได้รับปริญญาสองใบ ทั้งปริญญาแพทยศาสตร์และปริญญาโท เสริมความรู้ทั้งด้านการแพทย์และองค์ความรู้อีกแขนงจากปริญญาโท "

จุดเด่นในคณะ

“A socially responsible and highly competent patient-centered clinician who is capable of creating research and innovation for the betterment of the society” “ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการสร้างแพทย์สมัยใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือที่เรียกว่า The CRA Doctor คือการสร้างแพทย์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสา ทำประโยชน์เพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคม แพทย์ที่มีทักษะวิชาชีพที่เป็นเลิศ สอดคล้องกับมาตรฐานแพทยสภาและมาตรฐานสากล WFME และต้องเป็นแพทย์ที่สามารถดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม โดยรู้จักรักษาโรค รักษาใจ รักษาคน รวมถึงรู้จักคิดค้นคว้าวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” โดยมีจุดเด่นดังนี้

1. หลักสูตรการเรียน หลักสูตรที่มุ่งเน้นเป็นแพทย์นักวิจัย เริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานการทำวิจัยในปีแรก จนทำวิจัยปริญญาโทในปีที่ 4 ตามสาขาที่สนใจ มีการตัดเกรดเฉพาะรายวิชาจำเป็นต่อการดำรงอาชีพแพทย์ นอกนั้นคิดเกณฑ์รายวิชา O S U เพื่อลดความเครียดให้กับนักศึกษาและสามารถใช้เวลาว่างศึกษาวิจัยหรือวิชาที่ตนสนใจได้ นอกจากนี้ยังมีการสอบ 2 ประเภท ได้แก่ formative ซึ่งสอบก่อนและยังไม่เก็บคะแนน ให้นักศึกษาคุ้นชินกับเนื้อหา และ summative ซึ่งเป็นการสอบเก็บคะแนน

2. อุปกรณ์การเรียน ทั้งอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ กล้อง microscope ตามจำนวนนักศึกษา รวมถึงสนับสนุน Microsoft 365 และโปรแกรมที่ส่งเสริมการเรียน เช่น EndNote

3. การศึกษาที่โรงพยาบาลและนอกสถานที่ (Field-trip) แพทย์จุฬาภรณ์จะได้เรียนรู้กับคนไข้ในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 1 เพื่อฝึกการทักษะการพูดคุยกับคนไข้ เข้าใจ Patient Pathway รวมถึงมีการออกศึกษานอกสถานที่ (Field trip) นอกสถานที่บ่อยครั้งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา

4. สังคมความเป็นอยู่ ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีหอพักที่ติดกับคณะ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมาเรียน อีกทั้งมีรถตู้รับส่งไปยังโรงพยาบาล โดยสามารถเดินเชื่อมทางเดิน Skywalk ระหว่าง “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” กับ “สถานีหลักสี่” ในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเพื่อความสะดวกในการเดินทางได้

5. สุขภาพกายและใจ มีพื้นที่ Student Lounge ในคณะให้นักศึกษาได้พักผ่อน ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี โต๊ะเทเบิลเทนนิส หรืออุปกรณ์กีฬาอื่น ๆ สามารถยืมได้ มีฝ่ายวิชาการ Mental Health รับฟังคำปรึกษาตลอด 24 ชม.

ประวัติสถาบัน

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จัดตั้งขึ้นโดยพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยแรกก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ได้รับพระราชทานนามว่า “สำนักวิชาแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข” สังกัดโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มูลนิธิจุฬาภรณ์ เพื่อผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาที่ขาดแคลน ต่อมามีการจัดตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (รจภ.) ขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 จึงได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข” และย้ายเข้าไปอยู่ในสังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.) ภายใต้รจภ. และใน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 สภารจภ. ได้มีมติน้อมรับพระดำริในองค์ประธานรจภ.ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ให้เป็น “วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน (วพศส.)” เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ 64 พรรษา

ข้อมูลการสอบเข้า

รับ admission ทั้ง 3 รอบ รอบที่ 1 Portfolio (โครงการเพชรจุฬาภรณ์): 14 คน รอบที่ 2 Quota (โครงการปณิธานจุฬาภรณ์): 4 คน รอบที่ 3 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย: 14 คน

สามารถอ่านรายละเอียดต่อได้ที่: https://pscm.cra.ac.th/wp-content/uploads/2024/07/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%9B.pdf

สรุปชีวิตการเรียน

Pre-clinic (ปี 1-4) 

Year 1: เรียนวิชาทั่วไปที่สำคัญกับวิชาชีพแพทย์ อย่าง sociology, health system โดยออกแบบเนื้อหาวิชาอย่าง physics ให้เข้ากับการแพทย์มากที่สุด นอกจากนี้ มีการเริ่มเรียนวิธีการทำวิจัยเบื้องต้นและเรียนเนื้อหาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นที่จะทำให้เข้าใจกลไกร่างกายและการเกิดโรคมากขึ้น เช่น cell biology, infection and defense

Year 2: เริ่มเรียนระบบภายในร่างกายและเรียน academic English ซึ่งช่วยในการทำงานวิจัย มีวิชา physical education เพื่อสมดุลการเรียนกับการรักษาสุขภาพของนักศึกษา

Year 3: เรียนระบบการทำงานของร่ายกายต่อ และมีให้เลือกเรียนวิชาเลือกด้านศิลปะและดนตรีเพื่อรักษาสมดุลชีวิตนักศึกษา

Year 4: เรียนปริญญาโท 1 ปีตามสาขาวิชาที่เลือก โดยมี 8 สาขา บางสาขามีให้เริ่มเรียนก่อนหน้าตั้งแต่ preclinical years วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน

- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล

- วิทยาลัยการจัดการ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม (นานาชาติ)

- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (นานาชาติ)

- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา - คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวการแพทย์

- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

Clinic (ปี 5-7)

Year 5: เริ่ม clinical year ด้วยการศึกษาบางส่วนของโรงพยาบาล เช่น ambulatory care, internal medicine, family medicine

Year 6: ดูการทำงานภายในโรงพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง อย่าง geriatric medicine, psychiatry, surgery  Year 7: ทำ Externship ใน Ward ต่าง ๆ ในโรงพยาบาล และมี clinical electives ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มได้

  • RSS
  • Facebook
  • Instagram
  • Youtube
bottom of page