Address
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19/1 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
Contact
website :
0 5446 666 ต่อ 7020
Email : medicine@up.ac.th
ค่าเทอม
50,000 บาท/ภาคการศึกษา
ทุนการศึกษา
ทุนการศึกษาทั่วไป
คุณสมบัติ/ข้อปฏิบัติ ผู้ขอรับทุนการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 (โดยย่อ)
1.เป็นผู้มีปัญหาทางเศรษฐกิจ/ขาดแคลนทุนทรัพย์
2.มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่ถูกลงโทษด้านวินัยนิสิต
3.เป็นนิสิตที่มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป สำหรับนิสิตที่กู้ยืมเงิน กยศ. สามารถสมัครขอรับทุนได้
ทุนแพทย์เพื่อปวงประชา
ทุนไม่มีข้อผูกมัดได้รับทุนเดือนละ 5,000 บาท ตลอดจบ 6 ปีการศึกษา
คุณสมบัติผู้ขอรับทุน (โดยย่อ )ทางมูลินิธิจะพิจารณาจากพฤติกรรม ผลการเรียนและค่าใช้จ่ายของครอบครัว
ทุน 5%
- ทุนเรียนดี โดยผู้สมัครมีผลการเรียน
รวมมากกว่า 3.00 ขึ้นไป
-ทุนขาดแคลนคุณทรัพย์ โดยผู้สมัครมีผลการเรียนรวมมากกว่า 2.00 ขึ้นไป
เป็นโรงเรียนแพทย์ ชั้นนำของล้านนาตะวันออก
(Leading medical school of Eastern Lanna)
“ คณะพร้อมรับฟัง และซัพพอร์ตในทุก ๆ เรื่อง และพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณ ”
จุดเด่นในคณะ
-
โรงเรียนแพทย์ชั้นนําของล้านนาตะวันออก
-
เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการบูรณาการแบบสหวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขในทุกพันธกิจ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน
ประวัติสถาบัน
มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ถือกำเนิดจากการเป็นวิทยาเขตสารสนเทศของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาด้วยการกระจายโอกาสการศึกษาแก่ชุมชน และสังคม โดยระยะแรกก่อตั้ง ปี พ.ศ.2538 ได้ใช้อาคารของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นการชั่วคราว และย้ายมาที่ตั้งถาวร ณ ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2542 บนพื้นที่ 5,158 ไร่ และสภามหาวิทยาลัยนเรศวรในคราวประชุม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยาขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ”
ข้อมูลการสอบเข้า
1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (Community Track)
จำนวนรับ 12 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด หรือโรงเรียนกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผู้มีสิทธิ์สมัคร นักเรียนที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขตภาคเหนือ 8 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา)
2. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track) จำนวนรับ 5 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด หรือโรงเรียนกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผู้มีสิทธิ์สมัคร นักเรียนที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขตภาคเหนือตอนบน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา)
3. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีลาเรียน (Strengthening Track)
จำนวนรับ 20 คน ผู้มีสิทธิ์สมัคร
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือเทียบเท่า
2.มีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์(นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร)
3.มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย 1 ปี พร้อมแนบเอกสารรับรอง การทำงาน
สรุปชีวิตการเรียน
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1 ปรับพื้นฐานเนื้อหาที่เรียนจะเป็นวิชามอปลายส่วนใหญ่เช่นฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมี ชีววิทยา ภาษาไทยภาษาอังกฤษ ใน1อาทิตย์เรียนเพียง3 -4 วันสบายมาก
ปี 2 เข้าเนื้อหาทางการแพทย์เรียนทุกระบบในร่างกายในภาวะปกติทั้งทางกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยาและโลหิตวิทยาและมีความผิดปกติเล็กน้อย
ปี 3 เริ่มเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติตามระบบต่างๆภายในร่างกายทั้งสาเหตุการเกิดโรคและการรักษาการใช้ยาและการออกฤทธิ์ของยาต่างๆ
Clinic (ปี 4-6)
ปี 4 เป็นการเรียนบนหอผู้ป่วยจริง เรียนวน4วอร์ดแบบกลุ่มเล็กๆได้แก่สู-ศัลย์-med-เด็ก โดยจะแบ่งเป็น2ศูนย์ฝึกคือศูนย์ฝึกโรงพยาบาลพะเยาและโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่เนื่องจากคนน้อยจึงมีการเรียนที่ใกลชิดขึ้นและเริ่มอยู่เวร
ปี 5 เรียนคล้ายปี4 ได้เริ่มลงทำเองและเรียนในminor wardได้เรียนในเนื้อหาที่เฉพาะมากขึ้น
ปี 6 ทำงานเป็นแพทย์เต็มตัว(Extern) ทำทุกอย่างเองหมดเลยโดยมีอาจารย์ควบคุม และมีการสอบสำคัญคือNL3 สอบแบบOSCE