Address
เลขที่ตั้ง 222 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาคาร B (ชั้น 8) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80160
Contact
website :
โทรศัพท์ 075-477401-3
แฟกซ์ 075-672807
Email : cas@wu.ac.th
ค่าเทอม
56,000 บาท (ต่อ 1 เทอม)
ทุนการศึกษา
-
วิสัยทัศน์ :
สถาบันการศึกษาทางการแพทย์และสุขภาพที่มีคุณภาพ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากลในปี 2569
ค่านิยม :
SMD WU : สามัคคีซื่อตรง ดำรงคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา
S = Sincerity (ซื่อสัตย์/ซื่อตรง)
M = Merits (คุณธรรม)
D = Distinction (ดีเด่น/ดีเลิศ)
W = Wisdom (ปัญญา/ความรู้)
U = Unity (หนึ่งเดียว/สามัคคี)
“ เชื่อมั่น เชื่อใจ รับใช้ประชาชน ”
จุดเด่นในคณะ
- หลักสูตรมีจุดเด่นที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ลดเวลาเรียนในห้องเรียนลง
เพิ่มการปฏิบัติ
และการใช้ smart class room เน้นการเข้าถึงเทคโนโลยี
สารสนเทศที่เป็นมาตรฐานในระดับนานาชาติมามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแบบactive learning
- มีกิจกรรมต่างๆมากมายนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
เพื่อให้นักศึกษาได้เสริมสร้างประสบการณ์ในทุกๆด้าน เช่น
กิจกรรมกีฬาสี
ประวัติสถาบัน
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในกำกับของรัฐบาลแห่งที่ 2 ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2547 และเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ตามความเรียกร้องของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และร่วมมือกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข โดยสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบ ใฝ่รู้ มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรม และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นได้ บัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนด้วยความเต็มใจ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชุมชนท้องถิ่น
ปีการศึกษา 2552 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีนักศึกษาแพทย์ 2 รุ่น ตามโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 95 คน จากพื้นที่ 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ตรัง และภูเก็ต
ข้อมูลการสอบเข้า
รอบที่ ๑ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) จำนวนรับ ๒๔ คน โดยพิจารณาคัดเลือกจาก
๑.๑.๑ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
๑.๑.๒ ผลคะแนนสอบ TPAT ๑ (วิชาเฉพาะ กสพท)
๑.๑.๓ การสัมภาษณ์
รอบที่ ๒ โควตา (Quota) จำนวนรับ ๒๔ คน โดยพิจารณาคัดเลือกจาก
๑.๒.๑ ผลคะแนนการสอบ A-Level จำนวน ๗ วิชาได้แก่ วิชาฟิสิกส์วิชาเคมีวิชาชีววิทยา
วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ๑ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา
๑.๒.๒ ผลคะแนนสอบ TPAT ๑ (วิชาเฉพาะ กสพท)
๑.๒.๓ การสัมภาษณ์
สรุปชีวิตการเรียน
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1 เรียนเนื้อหาพื้นฐานทั่วไป มีวิชาเลือกเสรีที่หลากหลาย สามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ มีเวลาว่างจากการเรียนค่อนข้างเยอะ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้
ปี 2 เข้าสู่การเรียนแบบ Block โดยในช่วงแรกจะมี intro to medicine ทั้งหมด 4 block ก่อนจะเข้าเนื้อหาระบบต่าง ๆ มีเวลาว่างน้อยลง ส่วนใหญ่จะได้เข้าร่วมแต่กิจกรรมของคณะ
ปี 3 เป็นการเรียนต่อเนื่องจากเนื้อหาของ ปี 2 แต่เข้าสู่พาร์ทความผิดปกติ เนื้อหาซับซ้อนขึ้น และต้องเป็นคนจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับรน้อง ๆ
Clinic (ปี 4-6)
ปี 4 เป็นการเริ่มต้นเรียนในโรงพยาบาล เป็นปีที่ต้องปรับตัวเยอะมากจากพรีคลินิก โดยนักศึกษาจะถูกแบ่งจำนวนเท่า ๆ กัน ไปเรียนยังโรงพยาบาลตรังและโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ปี 5 เริ่มจะปรับตัวกับระบบการเรียนชั้นคลินิกได้แล้ว การเรียนใกล้เคียงกับปี 4 แต่จะมีบางวิชาที่เป็นวิชาใหม่และมีความซับซ้อนมากขึ้น
ปี 6 เป็นปีที่รู้สึกเหมือนเป็นแพทย์จริง ๆ ได้ตรวขคนไข้เอง คิดเองและรักษาคนไข้เอง แต่จะมีรุ่นพี่และอาจารย์คอยให้คำปรึกษา