Address
Contact
681 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
website : https://www.vajira.ac.th
02-244-3000
Email : odecpr@nmu.ac.th
ค่าเทอม
35,000 บาทต่อเทอม
ทั้งหลักสูตรวชิระ-วชิระ และวชิระ-ตากสิน
ทุนการศึกษา
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชมีกองทุนสำหรับช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยเป็นทุนที่มาจากและหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกเช่นมูลนิธิทุนแพทย์เพื่อปวงประชา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นกู้กองทุน กยศ. และ กรอ. สำหรับกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล สู่ความเป็นสถาบันแพทยศาสตร์แห่งกรุงเทพมหานครที่ทรงคุณค่าของประเทศ ผู้นำด้านเวชศาสตร์เขตเมือง
พันธกิจ
ให้บริการและปฏิบัติภารกิจเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
ค่านิยม : WE are VAJIRA
V = Visionary มองการณ์ไกล
A = Altruism มีจิตสาธารณะ
J = Justice ยึดถือความถูกต้อง
I = Integration ประสานงานดี
R = Responsibity มีความรับผิดชอบ
A = Agility ยืดหยุ่นพร้อมรับความ เปลี่ยนแปลง
" วชิรพยาบาล ผู้นำด้านเวชศาสตร์เขตเมือง "
จุดเด่นในคณะ
1. เรียนในเมือง : ที่ตั้งคณะอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงพยาบาลวชิระ ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงสยามฯ, สามย่านมิตรทาวน์, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เดินทางสะดวก ไม่ว่าจะเป็น รถ TAXI เรือ นั่งวิน BTS รถเมล์ ในอนาคตจะมีสถานี MRT สายสีม่วงที่หน้ารพ.เลย
2. สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน : มหาวิทยาลัยแจกคูปองเงินสดสำหรับเลือกซื้อ iPad
3. พื้นที่ในคณะ : อาคารเรียนใหม่ มีศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด ห้องประชุมที่สามารถจองเพื่อใช้ติวหนังสือหรือคุยงานได้ สนามบาสติดแอร์ สนามแบดมินตันฟรี!! รวมไปถึงฟิตเนสราคานักศึกษา เรียกได้ว่าตอบโจทย์ทุกกิจกรรม
4. สังคมอบอุ่น : ที่วชิรพยาบาลเรามีจำนวนคนในคณะไม่มาก ทำให้เราได้สนิทกันมาก สายรหัสก็อบอุ่น แถมมีอาจารย์ประจำสายรหัสคอยดูแลพวกเราด้วย
5. กิจกรรมโดนเด่น : มีกิจกรรมเยอะจุก ๆ ทั้งค่ายรับน้อง โบว์ไท-เนคไท รุ่นพี่แนะนำการเรียน การใช้ชีวิตในแต่ละชั้นปี, งานรับน้องของมหาลัย, กีฬา Freshy และมีชมรมอีกมากมาย เช่นชมรมวิจัย ชมรมดนตรี ชมรมศิลปะ หรือจะชมรมบอร์ดเกมก็มีนะ
6. ดูแลทั้งสุขภาพกายและใจ : ทางมหาลัยจัดสรรวัคซีนให้นักศึกษาเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ส่วนด้านจิตใจก็มี Hotline คลินิกกู้ใจ คอยให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ 24 ชั่วโมง
ประวัติสถาบัน
วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2455 พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อพระราชทานเป็นสาธารณสถานแก่ประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า
"วชิรพยาบาล"
ต่อมาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครจึงได้รับการก่อตั้งขึ้น ภายใต้สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2536 และได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลจนกระทั่ง พ.ศ. 2541 ได้รวม “วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร” และ “วชิรพยาบาล” เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล” (วพบ.) และเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จึงได้เปลี่ยนเป็น
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ได้มีการจัดตั้งหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชตลอดทั้งหลักสูตร
ข้อมูลการสอบเข้า
รอบที่ 1 Portfolio
รับจำนวน 30 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม (อ้างอิงจากประกาศการรับสมัครปีการศึกษา 2565)
รอบที่ 3 Admission
แบ่งเป็นวชิระ-วชิระรับจำนวน 50 คน และวชิระ-ตากสินรับจำนวน 20 คน
-
เกณฑ์การคัดเลือกจากระบบการคัดเลือกกลาง พิจารณาจากคะแนนการสอบ TPAT1 (วิชาเฉพาะ กสพท.) ร่วมกับการสอบ A-level (9 วิชาสามัญ) ได้แก่วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ 1 ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย (อ้างอิงจากประกาศการรับสมัคร กสพท. ปีการศึกษา 2566)
สรุปชีวิตการเรียนชั้น Pre-clinic (ปี1-3)
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1 เรียนเคมีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถิติเพื่อการวิจัย ภาษาอังกฤษ Cell Biology และ Biochemistry รวมถึงวิชาคณะเช่น เวชศาสตร์เขตเมือง, เวชจริยศาสตร์และกฏหมายทางการแพทย์ และ วิชาเลือกเสรีต่าง ๆ
ปี 2 - 3 เรียนเป็นรูปแบบ “Block system” คือเรียนทีละระบบของร่างกายไปเรื่อยๆ ตั้งแต่กลไกการทำงานปกติ กายวิภาค เซลล์และเนื้อเยื่อ กลไกการเกิดโรค วิธีการวินิจฉัย จนถึงการรักษา จะมีทั้งการเรียน Lecture ผ่าอาจารย์ใหญ่ ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเนื้อเยื่อและเชื้อโรคต่างๆ และการเรียนแบบ Case study ซึ่งเป็นการเรียนโดยใช้ตัวอย่างเคสผู้ป่วยและกรณีศึกษาในชั้นพรีคลินิกทั้งวชิระ-วชิระ และวชิระ-ตากสิน จะเรียนด้วยกันทั้ง 3 ปี
Clinic (ปี 4-6) ตั้งแต่ชั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป นักศึกษาจะแยกกลุ่มขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ตามโรงพยาบาลต้นสังกัดที่นักศึกษาสมัครสอบเข้าโดย
-
วชิระ-วชิระ ขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยที่วชิรพยาบาล เขตดุสิต
-
วชิระ-ตากสิน ขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยที่โรงพยาบาลตากสิน เขตคลองสาน
กิจวัตรส่วนใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คือ การปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจริง เสมือนการฝึกงานและศึกษาจากการสังเกตผู้ป่วยโดยตรง มีการเรียนภาคทฤษฎี ควบคู่กับการราวน์วอร์ด อยู่เวรและได้ทำหัตถการต่าง ๆ เช่นการเจาะเลือด เย็บแผล เข้าช่วยผ่าตัด ทำคลอด
สรุปชีวิตการเรียน
Pre-clinic (ปี 1-3)
ปี 1 เรียนเคมีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถิติเพื่อการวิจัย ภาษาอังกฤษ Cell Biology และ Biochemistry รวมถึงวิชาคณะเช่น เวชศาสตร์เขตเมือง, เวชจริยศาสตร์และกฏหมายทางการแพทย์ และ วิชาเลือกเสรีต่าง ๆ
ปี 2 - 3 เรียนเป็นรูปแบบ “Block system” คือเรียนทีละระบบของร่างกายไปเรื่อยๆ ตั้งแต่กลไกการทำงานปกติ กายวิภาค เซลล์และเนื้อเยื่อ กลไกการเกิดโรค วิธีการวินิจฉัย จนถึงการรักษา จะมีทั้งการเรียน Lecture ผ่าอาจารย์ใหญ่ ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเนื้อเยื่อและเชื้อโรคต่างๆ และการเรียนแบบ Case study ซึ่งเป็นการเรียนโดยใช้ตัวอย่างเคสผู้ป่วยและกรณีศึกษาในชั้นพรีคลินิกทั้งวชิระ-วชิระ และวชิระ-ตากสิน จะเรียนด้วยกันทั้ง 3 ปี
Clinic (ปี 4-6) ตั้งแต่ชั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป นักศึกษาจะแยกกลุ่มขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ตามโรงพยาบาลต้นสังกัดที่นักศึกษาสมัครสอบเข้าโดย
-
วชิระ-วชิระ ขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยที่วชิรพยาบาล เขตดุสิต
-
วชิระ-ตากสิน ขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยที่โรงพยาบาลตากสิน เขตคลองสาน
กิจวัตรส่วนใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คือ การปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจริง เสมือนการฝึกงานและศึกษาจากการสังเกตผู้ป่วยโดยตรง มีการเรียนภาคทฤษฎี ควบคู่กับการราวน์วอร์ด อยู่เวรและได้ทำหัตถการต่าง ๆ เช่นการเจาะเลือด เย็บแผล เข้าช่วยผ่าตัด ทำคลอด